หน้าแรก
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
คระครุศาสตร์
ติดต่อเรา
วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557
เพลงฉ่อย กับข้าวเพชฌฆาต
นี่แหละวัฒนธรรมไทย ไม่ว่าจะเป็นเพลงลำตัดหรือเพลงฉ่อย ก็น่าฟังทั้งนั้น มีทั้งความสนุก ตลกขบขันอยู่ในตัวของมันเอง เป็นความบันเทิงเริงใจที่มีมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน จึงควรอนุรักษ์ไว้ให้ยืนนานสืบไป...
(ขอขอบคุณคลิปจากภาพยนตร์เหลือแหล่)
หิ่งห้อย
๑.
ดับดวงดาวดวงสุดท้ายที่ปลายฟ้า
แสวงหาความหยิ่งแสงหิ่งห้อย
จากดินดูสู้ฟ้า-ดาวพร่าพร้อย
กับสัวต์น้อยด้อยแรง...แสงพอทาน
๒.
แล้วฉันเลือกเป็นหิ่งห้อย
แทนดาวลอยสูงศักดิ์อัครฐาน
จึงมีปีก มีความหวัง อหังการ
มีสิทธิผ่านมุมอับอันลับดาว
เบาปีกบาง บินไป บินไป
เผาไหม้ใจช่วงในห้วงหาว
เผชิญพายุบ้างบางคราว
ร้อนหนาว เข้าถึงโลกแท้จริง
๓.
ไม่มีดาวดวงสุดท้ายที่ปลายฟ้า
บางครั้งฉันอ่อนล้า เหนื่อยนิ่ง
ในมุมมืดหม่นมวดถูกทอดทิ้ง
ฉันอยากมีค่ายิ่ง ณ ที่นั้น
(ผู้ประพันธ์ ตะวันใหม่ - ๒๕๒๔)
การจำแนกกลอน
๑.กลอนจำแนกตามฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์ของกลอนในวรรณกรรมจำแนกได้ ๕ ประเภทคือ จำแนกตามจำนวนคำ จำแนกตามคำขึ้นต้น จำแนกตามคณะ จำแนกตามบทขึ้นต้น และจำแนกตามการส่งสัมผัส
๒.กลอนจำแนกตามวัตถุประสงค์การนำไปใช้
แบ่งได้เป็น ๒ ประเภทคือ กลอนอ่าน และกลอนร้อง
โลก
โลกนี้มิอยู่ด้วย มณี เดียวนา
ทรายและสิ่งอื่นมี ส่วนสร้าง
ปวงธาตุต่ำกลางดี ดุลยภาพ
ภาคจักรพาลมิร้าง เพราะน้ำแรงไหน ฯ
ภพนี้มิใช่หล้า หงส์ทอง เดียวเลย
กาก็เจ้าของครอง ชีพด้วย
เมาสมมุติจองหอง หินชาติ
น้ำมิตรแล้งโลกม้วย หมดสิ้นสุขศานต์ ฯ
(กวีนิพนธ์ของ อังคาร กัลยาณพงศ์)
วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
บทกลอนตอน "ชมโฉม"
สูงระหงทรงเพรียวเรียวรูด
งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า
พิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา
ทั้งสองแก้มกัลยาดั่งลูกยอ
คิ้วก่งเหมือนกงเขาดีดฝ้าย
จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ
หูกลวงดวงพักตร์หักงอ
ลำคอโตตันสั้นกลม
สองเต้าห้อยตุงถุงตะเครียว
โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม
มันน่าเชยน่าชมนางเทวี
จากวรรณกรรมเรื่อง ระเด่นลันได
แต่งโดย พระมหามนตรี (ทรัพย์)
ความหมายคำว่า "กลอน"
กลอน
เป็นลักษณะคำประพันธ์ไทยที่ฉันทลักษณ์ประกอบด้วยลักษณะบังคับ ๓ ประการคือ คณะ จำนวนคำ และสัมผัส ไม่มีบังคับเอกโทและครุลหุ เชื่อกันว่าเป็นคำประพันธ์ท้องถิ่นของไทยแถบภาคกลางและภาคใต้ โดยพิจารณาจากหลักฐานในวรรณกรรมทั้งวรรณกรรมลายลักษณ์ (เป็นตัวหนังสือ) และวรรณกรรมมุขปาฐะ (เป็นคำพูดที่บอกต่อกันมาไม่มีการจดบันทึก) โดยวรรณกรรมที่แต่งด้วยกลอนเก่าแก่ที่สุดคือ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และเพลงยาว ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล กวีแต่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย ก่อนหน้าหน้านั้นกลอนคงอยู่ในรูปแบบวรรณกรรมมุขปาฐะเป็นร้อยกรองชาวบ้าน เช่น บทร้องเล่น บทกล่อมเด็ก เพลงชาวบ้าน เป็นต้น
กลอนมารุ่งเรืองในยุครัตนโกสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีกวีสำคัญๆ ได้แก่ องค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ กรมหลวงวรวงศาธิราชสนิท ฯลฯ โดยเฉพาะสุนทรภู่ เป็นกวีที่ทำให้ฉันทลักษณ์กลอนพัฒนาถึงระดับสูงสุด มีความลงตัวทางฉันทลักษณ์ ทำให้กลอนลีลาแบบสุนทรภู่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแบบฉบับของกลอนที่ไพเราะที่สุดและนิยมแต่งจนถึงปัจจุบัน
วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
มารู้จักกับเจ้าของบล็อกกัน
ชื่อ-นามสกุล :
นางสาวจุฑามาศ ร่มแก้ว
รหัสนักศึกษา :
๕๖๘๑๑๑๓๐๐๓
การศึกษา :
คณะครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ชื่อเล่น :
คาลาไมน์
วันเกิด :
วันศุกร์ ที่ ๒๑ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๗
ลักษณะนิสัยใจคอ :
อารมณ์ดี ขี้โมโห หงุดหงิดง่าย แต่หายเร็วนะคะ :p
Facebook :
Apparition Mine
บทความที่ใหม่กว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)